วันศุกร์ที่ 17 ตุลาคม พ.ศ. 2551

แผนการจัดการเรียนรู้ เรื่อง หลักการซ่อมแซมและดัดแปลงเสื้อผ้า

แผนการจัดการเรียนรู้
กลุ่มสาระการงานอาชีพและเทคโนโลยี ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4
หน่วยการเรียนรู้ที่ 3 ของเก่าเล่าใหม่ เวลาเรียน 8 ชั่วโมง
แผนการเรียนรู้ที่ 9 เรื่อง หลักการซ่อมแซมและดัดแปลงเสื้อผ้า เวลาเรียน 2 ชั่วโมง
สอนวันที่…………เดือน……………………..พ.ศ. …………… ภาคเรียนที่ 1

มาตรฐานการเรียนรู้ สัมพันธ์กับมาตรฐานสาระ ง. 1.1 (1-5) , 1.2 (1-5)

สาระสำคัญ
เสื้อผ้าเป็นสิ่งจำเป็นที่ทุกคนต้องสวมใส่อยู่เป็นประจำ เมื่อใช้นาน ๆ อาจเกิดรอยชำรุด แต่ถ้าจะเลิกใช้ก็น่าเสียดาย เพราะสภาพเสื้อผ้าส่วนใหญ่ยังดีอยู่ ถ้าจะเปลี่ยนใหม่ก็ทำให้สิ้นเปลือง เพราะขณะนี้บ้านเมืองของเรากำลังรณรงค์เรื่องการประหยัด เราจึงควรนำสิ่งที่มีอยู่มาใช้ให้คุ้มค่า วิธีการที่อาจทำได้ คือ การซ่อมแซมและดัดแปลงเสื้อผ้า ซึ่งเป็นวิธีที่สามารถนำเสื้อตัวเก่า หรือเสื้อผ้าที่ชำรุดกลับมาใช้ใหม่ได้อย่างประหยัดที่สุด

ผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง
1. บอกประโยชน์ของการซ่อมแซมและดัดแปลงเสื้อผ้าได้
2. บอกหลักการซ่อมแซมและดัดแปลงเสื้อผ้าได้
3. เลือกใช้อุปกรณ์ในการซ่อมแซมและดัดแปลงเสื้อผ้าได้เหมาะสม
4. เห็นคุณค่าของการซ่อมแซมและดัดแปลงเสื้อผ้า

สาระการเรียนรู้
1. หลักการซ่อมแซมและดัดแปลงเสื้อผ้า
กระบวนการเรียนรู้
ขั้นนำเข้าสู่บทเรียน
1. ให้นักเรียนดูเสื้อผ้าที่ชำรุดแบบต่างๆ และร่วมกันสนทนาแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับ สิ่งที่ควรทำเมื่อเสื้อผ้าเกิดชำรุดหรือขาด โดยครูใช้คำถาม ดังนี้
1. นักเรียนเคยซ่อมแซมเสื้อผ้าที่ขาดด้วยตนเองหรือไม่
2. นักเรียนคิดว่าการซ่อมแซมเสื้อผ้าที่ขาดจะใช้วิธีการซ่อมแซมแบบเดียวกันหรือไม่
3. นักเรียนคิดว่าอุปกรณ์ในการซ่อมแซมเสื้อผ้ามีอะไรบ้าง
ขั้นสอน
1. แบ่งนักเรียนออกเป็นกลุ่ม ศึกษาหาความรู้จากแหล่งเรียนรู้เกี่ยวกับหลักการซ่อมแซมเสื้อผ้า ครูให้ความรู้เพิ่มเติม
2. แต่ละกลุ่มส่งตัวแทนออกมารับ ใบความรู้ที่ 9 เรื่อง หลักการซ่อมแซมและดัดแปลง
เสื้อผ้า เพื่อประกอบการศึกษาหาความรู้
3. สมาชิกแต่ละกลุ่มร่วมกันสนทนาและอภิปราย เกี่ยวกับ
- ประโยชน์การซ่อมแซมเสื้อผ้าด้วยตนเอง
- วิธีการซ่อมแซมเสื้อผ้าอย่างง่าย
4. แต่ละกลุ่มส่งตัวแทนออกมานำเสนอข้อสรุปที่ได้จากการอภิปรายในกลุ่มของตน
หน้าชั้นเรียน
5. ให้นักเรียนแต่ละกลุ่มวางแผนเตรียมวัสดุอุปกรณ์ในการซ่อมแซมเสื้อผ้า เพื่อฝึกปฏิบัติจริง โดยครูสาธิตให้นักเรียนดูเป็นตัวอย่าง
6. นักเรียนทุกกลุ่มลงมือปฏิบัติจริง ตามใบงาน
7. ตัวแทนแต่ละกลุ่มออกมาเล่าขั้นตอนและวิธีการปฏิบัติตามที่กลุ่มได้รับมอบหมาย
บอกปัญหาและอุปสรรคต่าง ๆ ในระหว่างปฏิบัติกิจกรรม
ขั้นสรุป
นักเรียนร่วมกันสรุปถึงขั้นตอนและซ่อมแซมเสื้อผ้า ประโยชน์และการนำไปใช้ในชีวิตประจำวัน ผลการปฏิบัติงานมีการเสนอแนะและให้นำปัญหาที่เกิดขึ้นไปปรับปรุงผลงานให้ดียิ่งขึ้นต่อไป
สื่อการเรียนการสอน
1. ใบความรู้ที่ 9 เรื่อง หลักการซ่อมแซมและดัดแปลงเสื้อผ้า
2. ใบงานเรื่อง หลักการซ่อมแซมและดัดแปลงเสื้อผ้า
3. วัสดุ-อุปกรณ์ที่ใช้ในการซ่อมแซมเสื้อผ้า
การวัดผลประเมินผล
1. วิธีการวัดผลประเมินผล
1) การสังเกตพฤติกรรม
2) การประเมินการทำงาน
3) การตรวจผลงาน

2. เครื่องมือวัดผลประเมินผล
1) แบบสังเกตพฤติกรรม
2) แบบประเมินการทำงาน
3) แบบตรวจผลงาน
4) แบบสรุป
3. เกณฑ์การวัดผลประเมินผล
1) ประเมินผลโดยถือเกณฑ์ผ่านจากคะแนนการตรวจงาน ร้อยละ 80
2) ประเมินผลโดยถือเกณฑ์จากการประเมินพฤติพรรม ร้อยละ 80